วัดคลองท่อม

จากที่พำนักสงฆ์คลองท่อมจนเป็นวัดคลองท่อม ปัจจุบันวัดคลองท่อมมีอายุ ๑๐๕ ปี
วัดคลองท่อม ตั้งอยู่ที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวเมืองกระบี่ประมาณ 40 กม. เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์พระครูอาทรสังวรกิจ ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงวัตถุโบราณของอำเภอคลองท่อม อาทิ ลูกปัด เครื่องมือโบราณ เป็นต้น เปิดบริการเวลา 08.30 - 12.00 และ 13.00 - 16.30 ปิดทุกวันพุธ

วันพุธที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ขั้นตอนและบทที่ต้องท่องจำใช้ในพิธีบวชแบบ(เอสาหัง)

คำขอบรรพชา-อุปสมบท
วัดคลองท่อม
                กุลบุตรผู้ที่ศัทราและเลื่อมใส เกิดฉันทะประสงค์จะขอบรรพชาและอุปสมบท พึงทำตนให้พ้นจากอุปสรรคคือข้อติดขัดเป็นต้นว่า มีโรคต้องห้าม มีหนี้สิน มีคดีเกี่ยวในศาล ไม่ได้รับอนุญาตแห่งบิดา มารดา ไม่ได้รับอนุญาตแห่งมูลนาย ไม่ได้รับอนุญาตแห่งเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่น เป็นบัณเฑาะว์ (กระเทย) และ พึงทำตนให้พ้นจากปลิโพธ คือข้อกังวลเป็นต้นว่า ครอบครัว การงาน บ้านเรือนและทรัพย์สมบัติ เตรียมตัวเสร็จแล้วถึงวันกำหนดพึงไปสู่อาราม เข้าในอุโบสถรับผ้าไตรอุ้มเข้าไปในสังฆสันนิบาต วางผ้าไตรไว้ข้างตัวด้านซ้าย รับเครื่องสักการะถวายอุปัชฌายะแล้วกราบเบญจางคประดิษฐ์ ๓ ครั้ง นั่งคุกเข่าอุ้มผ้าไตรประณมมือเปล่งวาจาถึงสรณะและขอบรรพชา-อุปสมบทด้วยภาษามคธ ดังนี้
             เอสาหัง  ภันเต  ,  สุจิระปรินิพพุตัมปิ  ,  ตัง  ภะคะวันตัง สะระณัง คัจฉามิ  , ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ  ละเภยยาหัง  ภันเต  ,  ตัสสะภะคะวะโต  ,  ธัมมะวินะเย        ปัพพัชชัง  , ละเภยยัง  อุปะสัมปะทัง
            ทุติยัมปาหัง  ภันเต , สุจิระปรินิพพุตัมปิ  , ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง   คัจฉามิ  , ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ  ละเภยยาหัง ภันเต  ตัสสะภะคะวะโต  ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง  ,  ละเภยยัง   อุปะสัมปะทัง
            ตะติยัมปาหัง  ภันเต สุจิระปรินิพพุตัมปิ ตัง  ภะคะวันตัง  สะระณัง  คัจฉามิ,  ธัมมัญจะ  ภิกขุสังฆัญจะ ละเภยยาหัง  ภันเต ตัสสะภะคะวะโต  ,  ธัมมะวินะเย ปัพพัชชัง  ,  ละเภยยัง  อุปะสัมปะทัง
            อะหัง  ภันเต  ,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ  อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ  คะเหตะวา            ,  ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต  อะนุกัมปัง  อุปาทะยะ
            ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต , ปัพพัชชัง  ยาจามิ  อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ คะเหตะวา  ,  ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต  ,  อะนุกัมปัง อุปาทะยะ
             ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  ,  ปัพพัชชัง  ยาจามิ  อิมานิ  กาสายานิ  วัตถานิ               คะเหตะวา  , ปัพพาเชถะ  มัง  ภันเต  ,  อะนุกัมปัง  อุปาทะยะ
(ถ้าอุปสมบทหมู่ให้เปลี่ยน มิ เป็น มะ) 
                ในลำดับนี้พระอุปัชฌายะรับผ้าไตรจากปัพพัชชาเบกขะ คือผู้มุ่งบวชบรรพชามาวางไว้ตรงหน้าแล้วพึงสอนถึงพระรัตนตรัยอันเป็นหลังสำคัญแห่งพระธรรมวินัย น้อมใจด้วยศรัทธาเลื่อมใสถือเป็นเป็นสรณะและบอกตจปัญจกัมมัฏฐานให้ไว้คำนึงเป็นจิตตภาวนาอธิบายให้รู้ความ โดยอนุโลมและปฏิโลมตามลำดับต่อไปนี้
                        เกสา  โลมา  ,  นะขา  ,  ทันตา  ,  ตะโจ
                        ตะโจ  ,  ทันตา  ,  นะขา  โลมา  ,  เกสา
ครั้งสอนแล้ว พระอุปัชฌานะพึงชักอังสะออกจากไตรห่มให้เป็นปัพพัชชาเบกขะแล้ว ส่งออกไปครองผ้าไตรจีวร เสร็จแล้ว พึงเข้าไปหาอุปัชฌายะ กราบ ๓ หน นั่งคุกเข่าประณมมือ เปล่งวาจาขอสรณะและศีลดังนี้
                                        อะหัง   ภันเต   สะระณะสีลัง  ยาจามิ
                        ทุติยัมปิ   อะหัง   ภันเต   สะระณะสีลัง  ยาจามิ
                        ตะติยัมปิ อะหัง   ภันเต   สะระณะสีลัง  ยาจามิ
(ถ้าอุปสมบทหมู่ให้เปลี่ยน มิ เป็น มะ)
                พระอาจารย์กล่าวคำนมัสการนำ ให้ปัพพัชชาเบกขะว่าตามดังต่อไปนี้
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (ว่า จบ)
จากนั้นพระอาจารย์พึงสั่งด้วยคำว่า "เอวัง วะเทหิ" หรือ "ยะมะหัง วะทามิ ตังวะเทมิ" คำใดคำหนึ่ง(อย่าว่าควบกัน) พึงรับว่า "อามะ ภันเต" ครั้งแล้วท่านกล่าวนำให้อธิษฐานใจถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะแล้ว พึงนำให้เปล่งวาจาว่า สรณคมน์ ตามไปทีละพากย์ ดังนี้
                    พุทธัง      สะระณัง        คัจฉามิ         
                    ธัมมัง      สะระณัง        คัจฉามิ
                    สังฆัง      สะระณัง        คัจฉามิ            
ทุติยัมปิ        พุทธัง      สะระณัง          คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ        ธัมมัง      สะระณัง          คัจฉามิ 
ทุติยัมปิ        สังฆัง      สะระณัง          คัจฉามิ
ตะติยัมปิ      พุทธัง      สะระณัง          คัจฉามิ     
ตะติยัมปิ      ธัมมัง      สะระณัง          คัจฉามิ    
ตะติยัมปิ      สังฆัง      สะระณัง          คัจฉามิ
เมื่อจบสรณคมน์แล้วพระอาจารย์พึงบอกว่า "สะระณะคะมะนัง นิฏฐิตัง" พึงรับว่า "อามะ ภันเต" แต่นั้นพระอาจารย์พึงบอกให้รู้ว่า บรรพชาเป็นสามเณรสำเร็จด้วยสรณคมน์เพียงเท่านี้ สามเณรนั้นมีสิกขาบทอันพึงต้องศึกษา ๑๐  ประการ แล้วกล่าวนำให้สามเณรว่าตามทีละบทดังนี้
                        ปาณาติปาตา เวรมณี
                        อะทินนาทานา เวรมณี
                        อะพรหมะจะริยา เวรมณี  (อ่านว่า อะพรัม)
                        มุสาวาทา เวรมณี
                        สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวรมณี
                        วิกาละโภชะนา เวรมณี
                        นัจจะ คีตะ วาทิตะ วิสูกะ ทัสสะนา เวรมณี
                        มาลา คันธะ วิเลปะนะ ธาระณะ มัณฑะนะ วิภูสะ นัฏฐานา เวรมณี
                        อุจาสะยะนะ มะหาสะยะนา เวรมณี
                        ชาตะ รูปะ ระชะตะ ปะฏิคคะหะนา เวรมณี
            อิมานิ ทะสะ สิกขาปะทานิ สะมาทิยามิ   ( ว่า หน ) กล่าวเสร็จแล้วกราบ หน
สามเณรใหม่อุ้มบาตรเข้าไปหาพระอุปัชฌายะในสังฆสันนิบาต วางบาตรไว้ข้างตัวด้านซ้ายกราบ หนคุกเข่าประนมมือ
                                        อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ
                                   ทุติยัมปิ   อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ                     
                                   ตะติยัมปิ อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ
                                              อุปัชฌาโย โน ภันเต โหหิ ( ว่า หน )
พระอุปัชฌาพึงกล่าวบทรับว่า "โอปายิกัง" หรือ "ปฏิรูปัง" หรือ "ปาสาทิเกนะ สัมปาเทหิ" บทใดบทหนึ่ง ครั้ง เว้นระยะให้ สามเณรตอบรับว่า "สาธุ ภันเต" ทุกบทไป จากนั้นสามเณรพึงกล่าวรับเป็นธุระให้ท่านสืบไปดังนี้
อัชชะตัคเทคานิ เถโร มัยหัง ภาโร, อะหัมปิ เถรัสสะ ภาโร ( ว่า  ๓ หน )เสร็จแล้วกราบ ที
พระอุปัชฌายะจะบอกถึงสรณะบริขาร ๔ อย่างที่ขาดไม่ได้ สามเณรผู้อุปสมบทก็พึงรับว่า"อามะ ภันเต" ๔ หนดังนี้
            อะยันเตปัตโต                      กล่าวรับว่า          ( อามะ ภันเต )
            อะยังสังฆาฏิง                     กล่าวรับว่า          ( อามะ ภันเต )
            อะยังอุตตะราสังโค               กล่าวรับว่า          ( อามะ ภันเต )
            อะยังอันตะระวาสะโก          กล่าวรับว่า          ( อามะ ภันเต )
  ในตอนนี้พระอาจารย์จะสวดกรรมวาจา ให้เอาบาตรคล้องตัวสะพายแล่งทางบ่าซ้ายให้ตัวบาตรอยู่ข้างหลังจากนั้นพระอุปัชฌายะสั่งให้ออกไปข้างนอกด้วยคำว่า "คัจฉะ อะมุมหิ โอภาเส ติฏฐาหิ" ให้ถอยหลังออกไปพอควรแล้วลุกขึ้นเดินไปอยู่ที่ที่กำหนดไว้ แล้วพระอาจาย์ท่านสมมุติเป็นผู้สอนซ้อมแล้วออกไปสวดถามอันตรายิกะธรรม ให้รับว่า "นัตถิ ภันเต" ๕ ครั้ง "อามะ ภันเต" ๘ ครั้ง ดังนี้
            กุฎฐัง                                                                                                  นัตถิ ภันเต
            คัณโฑ                                                                                                            นัตถิ ภันเต
            กิลาโส                                                                                               นัตถิ ภันเต
            โสโส                                                                                                 นัตถิ ภันเต
            อะปะมาโร                                                                                          นัตถิ ภันเต
            มนุสโสสิ                                                                                             อามะ ภันเต
            ปุริโสสิ                                                                                                อามะ ภันเต
            ภุชิโสสิ                                                                                                อามะ ภันเต
            อะนะโสสิ                                                                                            อามะ ภันเต
            นะสิ ราชะภะโฏ                                                                                    อามะ ภันเต
            อะนุญญาโตสิ มาตาปิตูหิ                                                                         อามะ ภันเต
            ปะริปุณณะวีสะติวัสโสสิ                                                                         อามะ ภันเต
            ปะริปุณณันเต ปัตตะจีวะรัง                                                                      อามะ ภันเต
            กินนาโมสิ                                                     อะหัง ภันเต (ฉายา ...................)นามะ
            โกนามะ เต อุปัชฌาโย        อุปัชฌาโย เม ภันเต (ฉายาพระอุปัฌาย์ .............) นามะ
                ซ้อมเสร็จแล้ว พระอาจารย์พึงกลับมาในสังฆนิบาต สวดกรรมวาจาขอเรียกอุปสัมปทาเบกขะเข้ามาสวดกรรมวาจาเรียบร้อยแล้วพระอาจารย์หันหน้าออกไปทางอุปสัมปทาเปกขะเรียกมาด้วยคำว่า "อะคัจฉาหิ"ในลำดับนี้อุปสัมปทาเบกจะเข้ามาในสงฆ์สันนิบาตกราบ ๓ หน แล้วนั่งคุกเข่าประณมมือเปล่งคำขออุปสมบทดังนี้
                        สังฆัมภันเต  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ , อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต , สังโฆ อนุกัมปัง  อุปาทายะ
            ทุติยัมปิ  ภันเต , สังฆัง  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ , อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต ,  สังโฆ อนุกัมปัง  อุปาทายะ
            ตะติยัมปิ  ภันเต สังฆัง  อุปะสังปะทัง  ยาจามิ , อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต , สังโฆ อนุกัมปัง  อุปาทายะ
                ในลำดับต่อไปนี้พระอุปัชฌายะกล่างเผดียงสงฆ์และพระอาจารย์สวดสมมุติตนเพื่อซักถามอันตรายิกธรรมกับ อุปะสัมปะทาเบกขะและพึงระบุถามตั้งแต่ "กุฏฐัง" จนถึง "โก นามะ เต อุปัชฌาโย"พึงรับว่า "นัตถิ ภันเต" ๕ ครั้ง "อามะ ภันเต" ๘ ครั้ง ตอบฉายาของตนเองและอุปัชฌายะ จากนั้นฟังท่านสวดกรรมวาจาอุปสมบทจนจบ พอจบแล้ว เอาบาตรออกจากตัว กราบ ๓ หน นั่งพับเพียบประณมมือฟังพระอุปัชฌาบอกอนุศาสน์ไปจนจบ ครั้นเสร็จแล้ว พระอุปัชฌายะจะกล่าวคำอนุโมทนาว่า "ยถา สัพพี"  ไปจนจบเป็นอันเสร็จพิธี...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น